หลักปฏิบัติในการทำบุญในโอกาสต่างๆ



ภาพประกอบจาก yooyen10.blogspot.com
ศาสนพิธีในการสวดเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร ในงานมงคลต่างๆ
การสวดเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร นิยมใช้สวดในงานมงคลต่างๆ เช่นทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ หรืองานแต่งงาน เป็นต้น บทที่ใช้สวดจะมาจากพระสูตร และพระคาถาต่างๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเรียกโดยทั่วไปว่าบทสวด ๗ ตำนาน และสวด ๑๒ ตำนาน สำหรับผู้ที่ต้องการทำบุญในโอกาสต่างๆ ด้วยการนิมต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ในโอกาสต่างๆ วันนี้จะมาแนะนำหลักการปฏิบัติให้ทราบกัน

สิ่งของที่ใช้ในพิธี  โดยสิ่งของเหล่านี้บางสิ่งเจ้าภาพอาจจัดหามา บางสิ่งสามารถยืมจากวัดมาใช้ได้  ซึ่งจะเป็นการสะดวกและประหยัดกว่า คือ
              ๑.๑  โต๊ะหมู่บูชา โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานที่  หากเป็นห้องโถงใหญ่ก็สามารถใช้โต๊ะหมู่ใหญ่ได้ แต่ถ้าเป็นห้องเล็กก็ควรใช้โต๊ะหมู่เล็ก  เช่น หมู่ ๕ หรืออาจใช้โต๊ะเพียง ๒ – ๓   ตัวก็ได้
              ๑.๒  พระพุทธรูป  ๑  องค์
              ๑.๓  แจกันและเชิงเทียน  อย่างน้อยที่สุด  ๑  คู่  อย่างมากไม่เกินจำนวนตามที่ระบุไว้ในการจัดโต๊ะหมู่ประเภทต่าง ๆ
              ๑.๔  กระถางธูป  ๑  กระถาง  หากไม่มีให้ใช้แก้วน้ำที่สะอาดใส่ทราย หรือข้าวสารสำหรับปักธูปก็ได้
              ๑.๕  ขันหรือบาตรน้ำมนต์ ๑ ใบ พร้อมเทียนขี้ผึ้งหนักหนึ่งบาท ๑ แท่ง สำหรับทำน้ำมนต์  หากไม่มีให้ใช้ขันน้ำที่ไม่ได้ทำด้วยเงินหรือทองแทนก็ได้ ใส่น้ำสะอาดที่สามารถดื่มกินได้  แต่ไม่นิยมใช้น้ำฝนทำน้ำมนต์  เพราะถือว่าน้ำมนต์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะต้องเป็นน้ำที่อยู่ตามปกติ  นอกจากนี้บางแห่งนิยมใส่ใบไม้มงคล  เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบนาค เป็นต้น  ลงในขันน้ำมนต์  หากเป็นงานศพหรือพิธีทำบุญอุทิศให้ผู้ตายไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์ไว้ แต่ในปัจจุบันแม้จะทำบุญอุทิศให้ผู้ตายก็มักนิยมตั้งขันน้ำมนต์ไว้ด้วยเพื่อทำน้ำมนต์ โดยถือเป็นการทำทั้งงานมงคลและงานอวมงคลไปพร้อม ๆ กัน
              ๑.๖  ดอกไม้  ธูป  เทียน  สำหรับใช้บูชาพระที่โต๊ะหมู่บูชา
              ๑.๗  ที่พรมน้ำมนต์  โดยจะใช้หญ้าคามัดเป็นกำ  หรือหากไม่มี  อาจใช้ก้านมะยมมัดเป็นกำพรมน้ำมนต์ก็ได้
              ๑.๘   อาสนะสำหรับพระสงฆ์นั่ง  โดยจะเป็นอาสนะที่ทำขึ้นเพื่อนั่งเฉพาะตัว หรือ พรมหรือหากไม่มีให้ใช้เสื่อธรรมดาก็ได้  โดยมีหลักการปูหรือตั้งอาสนะ คือ  จะต้องให้ที่นั่งพระสงฆ์สูงกว่าที่นั่งของฆราวาสในงานนั้น  ซึ่งถือเป็นการแสดงความเคารพประการหนึ่ง
              ๑.๙  กระโถน  แก้วน้ำร้อน – น้ำเย็น   พานหมากพลู (ปัจจุบันไม่นิยมถวายพระ)โดยตั้งกระโถนไว้ในสุด
              ๑.๑๐  สายสิญจน์ ๑ ม้วน โดยในงานมงคลนิยมใช้สายสิญจน์ชนิด ๙ เส้น สำหรับใช้เวียนรอบบ้าน หรือห้องพิธี  และโยงจากพระพุทธรูปมายังขันน้ำมนต์  การเวียนสายสิญจน์จะต้องเวียนจากขวามาซ้ายตามเข็มนาฬิกา  ไม่ควรใช้สายสิญจน์พันคอหรือองค์พระพุทธรูปควรเวียนเฉพาะที่ฐานพระพุทธรูป  หรือที่พระหัตถ์เท่านั้น  แล้วโยงมาที่ขันน้ำมนต์เวียนขวา๓  รอบ  ส่วนที่เหลือให้วางไว้บนพานใกล้ขันน้ำมนต์  เพื่อพระสงฆ์จะได้ใช้ถือเวลาเจริญพระพุทธมนต์


โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นสวดเจริญพระพุทธมนต์ตามหลักศาสนพิธี มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มด้วยการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

เสร็จแล้วกล่าวบทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

เสร็จแล้วกล่าวคำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

แล้วกล่าวคำสมาทานศีล โดยว่าตามพระทีละวรรค ดังต่อไปนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.

กล่าวคำอาราธนาพระปริตร

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะทุกขะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะภะยะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะโรคะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

พระสงฆ์เริ่มต้นการสวดเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร ด้วยบทสวดดังต่อไปนี้

บทชุมนุมเทวดา หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าบท สัคเค (โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์รูปที่ ๓ สวด) เป็นบทอัญเชิญเทวดามาร่วมฟังธรรม
นะมะการคาถา ไตรสรณคมน์ หรือนะโม ๓ จบ ตามด้วย พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จนถึง ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
นะมะการะสิทธิคาถา บท โยจักขุมา หรือบางครั้งอาจจะสวดบท สัมพุทเธ แทนก็ได้
นะโมการะอัฏฐะกะ หรือบทนะโม ๘ จบ
มังคะละสุตตัง บทอะเสวะนา ว่าถึงสิ่งอันเป็นมงคล ๓๘ ประการ
ระตะนะสุตตัง สวดทำน้ำพระพุทธมนต์ ขับไล่สิ่งอัปปมงคลต่างๆ (ให้เจ้าภาพเตรียมตัวจุดเทียนน้ำพระพุทธมนต์)
กะระณียะเมตตะสุตตัง บทสวดที่ช่วยให้เป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทวดา
ขันธะปะริตตะคาถา บทสวดป้องกันภัยจากงู และอสรพิษต่างๆ
โมระปะริตตัง บทสวดป้องกันภัยทั้งที่เกิดกลางวัน และกลางคืน
วัฏฏะกะปะริตตัง บทสวดป้องกันไฟใหม้
อาฏานาฏิยะปะริตตัง คาถาของท้าวเวสสุวรรณที่ทูลถวายพระพุทธเจ้า สวดเพื่อขับไล่ภูตผี ปีศาจ และเสนียดจัญไรต่างๆ
อังคุลิมาละปะริตตัง กล่าวถึงสัจจะวาจาของพระอังคุลีมาล ใช้สวดในงานแต่งงาน สวดเพื่อให้คลอดบุตรง่าย
โพชฌงคะปะริตตัง บทสวดป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
อะภะยะปะริตตัง บทสวดป้องกันฝันร้าย และลางร้ายต่างๆ
สักัตตะวา, นัตถิ เม สะระณัง, ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก ธรรมะโอสถป้องกันโรคภัย
เทวะตาอุยโยชะนะคาถา บทอัญเชิญเทวดากลับวิมาน
บทถวายพรพระ สวดท้ายการเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร

เมื่อพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว ก็ให้นำภัตตาหารคาว หวาน และน้ำปานะ มาตั้งถวายแล้วกล่าวคำถวายดังต่อไปนี้

คำถวายข้าวพระพุทธ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

อิมัง สูปะพยัชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ

คำถวายทาน (สามัญ) แบบใช้ทั่วไป

อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

หากต้องการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติมิตรผู้วายชนม์ให้ใช้คำถวายทานอุทิศ แทนดังนี้

อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคันหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง กาละกะตานัง มีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย มตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายมีมารดาเป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญฯ
พระสงฆ์กล่าว “สาธุ”  เสร็จแล้วร่วมกันประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์

เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วก็ให้เก็บภัตตาหารออก หากมีเครื่องไทยทานก็ให้นำมาวางไว้หน้าพระสงฆ์ แล้วร่วมกันน้อมถวายแด่พระสงฆ์ เสร็จแล้วกลับมานั่งพับเพียบรับพรพระและกรวดน้ำ ดังนี้

พระสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้ากล่าว (ให้เริ่มกรวดน้ำตอนที่พระว่า ยะถา)

ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ

ต่อด้วยบทมงคลจักรวาฬน้อย หรืออาจเป็นบทอื่นๆ ตามแต่พระท่านจะสวด

สัพพะพุทธานุภาเวนะ, สัพพะธัมมานุภาเวนะ, สัพพะสังฆานุภาเวนะ,
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง,
ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ, จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ, ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ, ชินะสาวะกานุภาเวนะ,
สัพเพ เต โรคา, สัพเพ เต ภะยา, สัพเพ เต อันตะรายา, สัพเพ เต อุปัททะวา, สัพเพ เต ทุนนิมิตตา, สัพเพ เต อะวะมังคะลา, วินัสสันตุ,
อายุวัฑฒะโก, ธะนะวัฑฒะโก, สิริวัฑฒะโก, ยะสะวัฑฒะโก, พะละวัฑฒะโก, วัณณะวัฑฒะโก, สุขะวัฑฒะโก, โหตุ สัพพะทา,
ทุกขะโรคะภะยา เวรา, โสกา สัตตุ จุปัททะวา, อะเนกา อันตะรายาปิ, วินัสสันตุ จะ เตชะสา,
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง, โสตถิ ภาคฺยัง สุขัง พะลัง, สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ, โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา, สะตะวัสสา จะ อายู จะ, ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต.

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.

เสร็จแล้วให้กราบพระอีกครั้ง

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

พระสงฆ์ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธี
ท่านสามารถรับฟังเสียงสวดเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร และดาวน์โหลดเสียงสวดมนต์ mp3 เพื่อเก็บไว้รับฟังได้ที่ หน้าสารบัญเสียงสวดเจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร หรือคลิกที่นี่...

เกี่ยวกับ""

เว็บไซต์ "สวดมนต์เน็ทเวิร์ค ดอทคอม" จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่การสวดมนต์ให้แพร่หลายในหมู่ชาวพุทธ ด้วยการรวบรวมบทสวดมนต์พร้อมทั้งเสียงสวดแล้วนำมาจัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ท่านสามารถติดต่อผู้จัดทำเว็บไซต์สวดมนต์เน็ทเวิร์คได้ที่ suadmonnetwork.com@gmail.com

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ