วัดหนองป่าพง ทำวัตรเย็นแปล รวม ๑๒ บท




ฟังเสียงสวดมนต์ ดูบทสวดมนต์ทำวัตรเย็นแปล ฉบับวัดหนองป่าพง ฟังแบบต่อเนื่องครบทุกบทที่พระภิกษุ สามเณร วัดหนองป่าพงใช้สวดในการทำวัตรเย็น รวม ๑๒ บท ประกอบด้วยบททำวัตรเย็นแปล บทสรณคมนปาฐะแปล บทเขมาเขมสรณทีปิกคาถาแปล บทอริยธนคาถาแปล บทติลักขณาทิคาถาแปล บทภารสุตตคาถาแปล บทภัทเทกรัตตคาถาแปล บทธัมมคารวาทิคาถาแปล บทโอวาทปาฏิโมกขคาถาแปล บทปฐมพุทธภาษิตคาถาแปล บทปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะแปล และบทกรวดน้ำตอนเย็นอุททิสสนาธิฏฐานคาถาแปล

บททำวัตรเย็น
| คำบูชาพระรัตนตรัย |


โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ


อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)


ปุพพภาคนมการ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ ครั้ง)


พุทธานุสสติ
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์, ดังนี้


พุทธาภิคีติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด


พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น


(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด


ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.


ธัมมาภิคีติ
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด


ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผลปริยัติและนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.


(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป


สังฆานุสสติ
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.


สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด


สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.


(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป


สรณคมนปาฐะ
(หันทะ มะยัง ติสะระณะคะมะนะปาฐัง ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยเถิด


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์ เป็นสรณะ


เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
(หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงสรณะอันเกษมและไม่เกษมเถิด


พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
อารามะรุกขะเจต๎ยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา
มนุษย์เป็นอันมาก, เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง,
ป่าไม้บ้าง, อารามและรุกขเจดีย์บ้างเป็นสรณะ
เนตัง โข สะระณัง เขมัง, เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะ ทุกขา ปะมุจจะติ
นั่น มิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,
จัตตาริ อะริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว,
เห็นอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐสี่ด้วยปัญญาอันชอบ
ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง
คือเห็นความทุกข,์ เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงพ้นทุกข์เสียได้,
และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐเครื่องถึงความระงับทุกข์
เอตัง โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง,
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม, นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


อริยธนคาถา
(หันทะ มะยัง อะริยะธะนะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาสรรเสริญพระอริยเจ้าเถิด.


ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา
ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใดตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว
สีลัญจะ ยัสสะ กัล๎ยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง
และศีลของผู้ใดงดงาม, เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง
ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์, และความเห็นของผู้ใดตรง
อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง
บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าคนไม่จน, ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน
ตัส๎มา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง,
อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนัง
เพราะฉะนั้น, เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่,
ผู้มีปัญญาควรสร้างศรัทธาศีล, ความเลื่อมใส, และความเห็นธรรมให้เนืองๆ


ติลักขณาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ติลักขะณาคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระไตรลักษณ์เป็นเบื้องต้นเถิด


สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย, ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก
อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ
หมู่มนุษย์นอกนั้นย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง
เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่ตรัสรู้ไว้ชอบแล้ว
เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
ชนเหล่าใดจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน, ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย, แล้วเจริญธรรมขาว
โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ, จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน, อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก


ภารสุตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงภารสูตรเถิด


ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล บุคคลแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข
นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุย๎หะ เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนาดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ


ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด


อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"


ธัมมคารวาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงความเคารพพระธรรมเถิด


เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะ ธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย,และจักเป็นด้วย,เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง
ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ สะรัง พุทธานะ สาสะนัง
เพราะฉะนั้น, บุคคลผู้รักตน, หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, จงทำความเคารพพระธรรม
นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรมและอธรรมจะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ
ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ตน
เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว


โอวาทปาฏิโมกขคาถา
(หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระโอวาทปาติโมกข์เถิด


สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ธรรม ๓ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติ คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย
ปาติโมกเข จะ สังวะโร การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง การนอนการนั่งในที่อันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ธรรม ๖ อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


ปฐมพุทธภาสิตคาถา
(หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาพุทธภาษิตครั้งแรกของพระพุทธเจ้าเถิด


อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ, ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารอันเป็นอเนกชาติ
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน,
คือตัณหาผู้สร้างภพ, การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือ ถึงนิพพาน)


ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคำแสดงพระโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าเถิด


หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย, บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า


อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
(หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงสวดคาถาอุทิศและอธิษฐานเถิด


อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา จะ แลอาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์และราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ พรหมมารและอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราชมนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลางผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผองที่ข้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุขสามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหาอุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้นจากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุกๆ ภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาธิปะวะโร นาโถ พระพุทธผู้บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจกะพุทธสม
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอกาสแก่มาร เทอญ



เกี่ยวกับ""

เว็บไซต์ "สวดมนต์เน็ทเวิร์ค ดอทคอม" จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่การสวดมนต์ให้แพร่หลายในหมู่ชาวพุทธ ด้วยการรวบรวมบทสวดมนต์พร้อมทั้งเสียงสวดแล้วนำมาจัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ท่านสามารถติดต่อผู้จัดทำเว็บไซต์สวดมนต์เน็ทเวิร์คได้ที่ suadmonnetwork.com@gmail.com

เรื่องน่าสนใจอื่นๆ